วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

แบบทดสอบ
พลังงานนิวเคลียร์และกัมตภาพรังสี

1.ใครเป็นคนค้นพบการแผ่รังสีของนิวเคลียส
.ไอแซก นิวตัน
. อองตวน อองรี แบ็กเกอแรล

. กาลิเลโอ กาลิเลอิ

ง. ชาร์ล ดาร์วิน

2. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการกำจัดกากกัมมันตรังสีที่ดีที่สุด
1. เร่งให้เกิดการสลายตัวเร็วขึ้นโดยใช้ความดันสูงมาก ๆ

2. เผาให้สลายตัวที่อุณหภูมิสูง

3. ใช้ปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบอื่น

4. ใช้คอนกรีตตรึงให้แน่นแล้วฝังกลบใต้ภูเขา

3. ข้อใดถูกต้องสำหรับไอโซโทบของธาตุหนึ่ง ๆ
1. มีเลขมวลเท่ากัน แต่เลขอะตอมต่างกัน

2. มีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนต่างกัน

3. มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน แต่จำนวนโปรตอนต่างกัน

4. มีผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอนเท่ากัน

4. นักโบราณคดีตรวจพบเรือไม้โบราณลำหนึ่งว่ามีอัตราส่วนของปริมาณ C-14 ต่อ C-12 เป็น 25 % ของอัตราส่วนสำหรับสิ่งที่ยังมีชีวิต สันนิษฐานได้ว่าซากเรือนี้มีอายุประมาณกี่ปี กำหนดให้ครึ่งชีวิตของ C-14 เป็น 5,730 ปี
1. 2,865

2. 5,730

3. 11,460

4. 22,920

5. รังสีในข้อใดที่มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อสารได้น้อยที่สุด
1. รังสีแอลฟา

2. รังสีบีตา

3. รังสีแกมมา

4. รังสีเอกซ์

6. กิจกรรมการศึกษาที่เปรียบเทียบการสลายกัมมันตรังสีกับการทอดลูกเต๋านั้น จำนวนลูกเต๋าที่ถูกคัดออกเทียบได้กับปริมาณใด
1. เวลาครึ่งชีวิต

2. จำนวนนิวเคลียสตั้งต้น

3. จำนวนนิวเคลียสที่เหลืออยู่

4. จำนวนนิวเคลียสที่สลาย

7. รังสีใดที่นิยมใช้ในการอาบรังสีผลไม้
1. รังสีเอกซ์

2. รังสีแกมมา

3. รังสีบีตา

4. รังสีแอลฟา


8. นักฟิสิกซ์ที่ค้นพบการแผ่รังสี คือ

ก. เซอร์ไอแซก นิวตัน

ข. อองตวน อองรี แบ็กเกอแรล

ค. โจฮันเนส เคพเลอร์

ง. เฮนรี่ คาเวนดิช


9. การแผ่รังสีนำไปใช้ประประโยชน์ คือ

ก. ป้องกันพิษสุนัขบ้า

ข. นำไปใช้เกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด

ค. เพื่อการบำบัดรักษามะเร็ง การทำ CT SCANNERS

ง.ถูกทุกข้อ


10. ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสีมีกี่ด้าน อะไรบ้าง

ก. 2 ด้าน ด้าน ธรณีวิทยา ด้านการแพทย์

ข. ด้านเดียว ด้าน การแพทย์

ค. 3 ด้าน ธรณีวิทยา การแพทย์ เกษตรกรรม

ง. 4 ด้าน ด้านธรณีวิทยา ด้านการแพทย์ ด้านเกษตรกรรม ด้าน อุตสาหกรรม


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แรง การเคลื่อนที่ สนามของแรง และคลื่น

แรงและการเคลื่อนที่

1. เวกเตอร์ของแรง
แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้

ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด คือ
1.
ปริมาณเวกเตอร์ (vector quality) หมายถึง ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรง ความเร็ว ความเร่ง โมเมนต์ โมเมนตัม น้ำหนัก เป็นต้น
2.
ปริมาณสเกลาร์ (scalar quality) หมายถึง ปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว ไม่มีทิศทาง เช่น เวลา พลังงาน ความยาว อุณหภูมิ เวลา พื้นที่ ปริมาตร อัตราเร็ว เป็นต้น

การเขียนเวกเตอร์ของแรง
การเขียนใช้ความยาวของส่วนเส้นตรงแทนขนาดของแรง และหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง


2. การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
2.1 การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น โยนวัตถุขึ้นไปตรงๆ รถยนต์ กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
2. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นเส้นตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศด้วย เช่น รถแล่นไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน
2.2 อัตราเร็ว ความเร่ง และความหน่วงในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
1. อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ คือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ใน 1 หน่วยเวลา
2. ความเร่งในการเคลื่อนที่ หมายถึง ความเร็วที่เพิ่มขึ้นใน 1 หน่วยเวลา เช่น วัตถุตกลงมาจากที่สูงในแนวดิ่ง
3. ความหน่วงในการเคลื่อนที่ของวัตถุ หมายถึง ความเร็วที่ลดลงใน 1 หน่วยเวลา เช่น โยนวัตถุขึ้นตรงๆ ไปในท้องฟ้า

3. การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
3.1 การเคลื่อนที่แบบวงกลม
หมายถึง การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ขณะนั้นมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลม เรียกว่า แรงเข้าสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เช่น การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
3.2 การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวราบ เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุขนานกับพื้นโลก เช่น รถยนต์ที่กำลังแล่นอยู่บนถนน
3.3 การเคลื่อนที่แนววิถีโค้ง เป็นการเคลื่อนที่ผสมระหว่างการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและในแนวราบ

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
นิวตัน ได้สรุปหลักการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งที่อยู่ในสภาพอยู่นิ่งและในสภาพเคลื่อนที่ ดังนี้

กฎข้อที่ 1 วัตถุถ้าหากว่ามีสภาพหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ มันยังจะคงสภาพเช่นนี้ต่อไป หากไม่มีแรงที่ไม่สมดุลจากภายนอกมากระทำ

กฎข้อที่ 2 ถ้าหากมีแรงที่ไม่สมดุลจากภายนอกมากระทำต่อวัตถุ แรงที่ไม่สมดุลนั้นจะเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนต์ตัมเชิงเส้นของวัตถุ

กฎข้อที่ 3 ทุกแรงกริยาที่กระทำ จะมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดที่เท่ากันแต่มีทิศทางตรงกันข้ามกระทำตอบเสมอ

กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 และข้อที่ 3 เราได้ใช้ในการศึกษาในวิชาสถิตยศาสตร์ มาแล้วสำหรับในการศึกษาพลศาสตร์ เราจึงสนใจในกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองมากกว่า

แหล่งที่มา

http://www.phohuk.rbr2.net/mywebphohuk/sic31101/force.htm


สนามของแรง

สนามของแรงก็คือบริเวณในอวกาศที่สามารถเกิดแรงกับวัตถุที่วางอยู่ในบริเวณนั้นได้
อย่างเช่น
1 สนามโน้มถ่วงหรือสนามแรงโน้มถ่วง คือบริเวณที่สามารถเกิดแรงโน้มถ่วงหรือ
น้ำหนัก
เมื่อมีวัตถุที่มีมวลอยู่ในสนามโน้มถ่วง วัตถุนั้นก็จะมีน้ำหนัก
ถ้าวัตถุไม่อยู่ในสนามโน้มถ่วง วัตถุนั้นก็จะไม่มีน้ำหนัก

2 สนามไฟฟ้าหรือสนามแรงไฟฟ้า คือบริเวณที่สามารถเกิดแรงไฟฟ้าหรือแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
เมื่อวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าอยู่ในสนามไฟฟ้า วัตถุนั้นก็จะถูกแรงจากสนามไฟฟ้ากระทำ

แหล่งที่มา http://www.vcharkarn.com/vcafe/56674

คลื่น

ชนิดของคลื่น
คลื่นเป็นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่ง คลื่นสามารถจำแนกตามลักษณะต่าง ๆได้ดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง
1.1 คลื่นกล (Mechanical wave) เป็น คลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ตัวอย่างของคลื่นกลได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น
1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็น คลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น


2. จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่
2.1 คลื่นตามขวาง (Transverse wave) เป็น คลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของ คลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามขวางได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับคลื่นน้ำ ซึ่งเป็นคลื่นตามขวาง เมื่อเกิดคลื่นโมเลกุลของน้ำจะสั่น ขึ้นลงในแนวดิ่ง ตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น ดังรูป
. จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น
3.1 คลื่นดล (Pulse wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเพียงครั้งเดียว
3.2 คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเป็นจังหวะต่อเนื่อง

สมบัติของคลื่น (wave properties)
คลื่นทุกชนิดแสดงสมบัติ 4 อย่าง คือการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน
การสะท้อน (reflection) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง แล้วเปลี่ยนทิศทางกลับสู่ตัวกลางเดิม

การหักเห (refraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป

การเลี้ยวเบน (diffraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง ทำให้คลื่นส่วนหนึ่งอ้อมบริเวณของสิ่งกีดขวางแผ่ไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น

การแทรกสอด (interference) เกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกัน แล้วเกิดการซ้อนทับกัน ถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน

แหล่งที่มา http://www.icphysics.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=54

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์

กัมมันตภาพรังสี

รังสี(Radiation)คือพลังงานที่แผ่ออกมาจากต้นกำเนิดในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือในลักษณะของอนุภาค กัมมันตภาพรังสีเป็นธาตุที่ไม่อยู่ในสภาพสเถียรมีการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสตลอดเวลา

  • รังสีในลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Radiation)ประกอบด้วย คลื่นวิทยุ(เสียง)ไมโครเวฟ อินฟาเรด แสงสว่าง อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา และรังสีคอสมิค
  • รังสีที่เป็นกระแสของอนุภาคความเร็วสูง(Sub-atomic Particle Radiation)ประกอบด้วย แอลฟา(a) เบตา(b)และ นิวตรอน(n)
เราอาจจำแนก รังสี ตามความสามารถในการเกิดอันตรกิริยาต่างๆ(Interaction)กับสสารได้ 2แบบ คือ
  • 1. รังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน(Non-Ionizing Radiation) เช่น คลื่นวิทยุ(เสียง) ไมโครเวฟ อินฟาเรด แสงสว่าง และอัลตราไวโอเลต
  • 2. รังสีที่ก่อให้เกิดไอออน(Ionizing Radiation) เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา รังสีคอสมิค แอลฟา เบตา และ นิวตรอน เป็นต้น

ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะรังสีที่ก่อให้เกิดไอออน ซึ่งเกิดได้ 3 กรณี

  • 1. เกิดจากสารกัมมันตรังสีสลายตัว (ได้แก่ รังสี แกมมา เบตา แอลฟา และรังสีเอกซ์)
  • 2. เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ (ได้แก่ รังสี แกมมา เบตา แอลฟาและนิวตรอน)
  • 3. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวงโคจรอิเล็กตรอนของนิวเคลียส (ได้แก่ กรณีของรังสีเอกซ์)
  • 4. เกิดจากต้นกำเนิดรังสีนอกโลก (ได้แก่ กรณีของรังสีคอสมิก)
รังสีที่ก่อให้เกิดไอออนดังกล่าวจะเกิดขึ้นและอยู่ล้อมรอบมนุษย์ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะมีมากบ้างหรือน้อยบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับสถานที่ และลักษณะ การปฏิบัติงานต่างๆกัน

ผลของรังสีต่อสิ่งมีชีวิต

เนื่องจากรังสีเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกระทบวัสดุต่างๆ และสิ่งที่มีชีวิต ก็ย่อมเกิดผลกระทบขึ้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง ได้แก่ ชนิดของ รังสี พลังงานของรังสี ปริมาณของรังสี และชนิดของอวัยวะที่รังสีตกกระทบ






วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตอบคำถาม(25/5/52)

1.ฟิสิกส์คืออะไร?

Ans. วิทยาศาสตร์ที่อาศัยการทดลอง อะไรก็ตามที่ต้องเรียนรู้ทางกายภาพ จะเรียนรู้ผ่านการทอดลอง

2.ปริมาณทางฟิสิกส์คืออะไร?

Ans. แบ่งได้เป็น
1.ปริมาณสเกลลาร์ คือ ปริมาณที่กำหนดแต่เพียงขนาด เช่น จำนวนนับของสิ่งของโดยทั่วไป ระยะทาง เวลา พื้นที่ งาน พลังงาน กระแสไฟฟ้า เป็นต้น การคำนวณปริมาณสเกลลาร์ สามารถดำเนินการ บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกับการคำนวณในระบบจำนวนทั่วๆไป
2.ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่ต้องกำหนดทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรง การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง เป็นต้น เนื่องจากปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง การคำนวณจึงต้องมีวิธีการที่แตกต่างออกไปจากการคำนวณในระบบจำนวน ไม่สามารถดำเนินการบวก ลบ คูณ หารแบบธรรมดาได้ จึงต้องใช้วิธีการคำนวณเวกเตอร์โดยเฉพาะ

รายชื่อกลุ่ม

รายชื่อกลุ่ม ม.5/6
1.ขวัญชนก เกษรแก้ว เลขที่ 10
2.วรรณพร อินทปัญญา เลขที่15
3.ปาณัสม์ มรกรณ์ เลขที่ 18
4.สิทธิชัย เพ็ชรสว่าง เลขที่ 19