วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์

กัมมันตภาพรังสี

รังสี(Radiation)คือพลังงานที่แผ่ออกมาจากต้นกำเนิดในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือในลักษณะของอนุภาค กัมมันตภาพรังสีเป็นธาตุที่ไม่อยู่ในสภาพสเถียรมีการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสตลอดเวลา

  • รังสีในลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Radiation)ประกอบด้วย คลื่นวิทยุ(เสียง)ไมโครเวฟ อินฟาเรด แสงสว่าง อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา และรังสีคอสมิค
  • รังสีที่เป็นกระแสของอนุภาคความเร็วสูง(Sub-atomic Particle Radiation)ประกอบด้วย แอลฟา(a) เบตา(b)และ นิวตรอน(n)
เราอาจจำแนก รังสี ตามความสามารถในการเกิดอันตรกิริยาต่างๆ(Interaction)กับสสารได้ 2แบบ คือ
  • 1. รังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน(Non-Ionizing Radiation) เช่น คลื่นวิทยุ(เสียง) ไมโครเวฟ อินฟาเรด แสงสว่าง และอัลตราไวโอเลต
  • 2. รังสีที่ก่อให้เกิดไอออน(Ionizing Radiation) เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา รังสีคอสมิค แอลฟา เบตา และ นิวตรอน เป็นต้น

ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะรังสีที่ก่อให้เกิดไอออน ซึ่งเกิดได้ 3 กรณี

  • 1. เกิดจากสารกัมมันตรังสีสลายตัว (ได้แก่ รังสี แกมมา เบตา แอลฟา และรังสีเอกซ์)
  • 2. เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ (ได้แก่ รังสี แกมมา เบตา แอลฟาและนิวตรอน)
  • 3. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวงโคจรอิเล็กตรอนของนิวเคลียส (ได้แก่ กรณีของรังสีเอกซ์)
  • 4. เกิดจากต้นกำเนิดรังสีนอกโลก (ได้แก่ กรณีของรังสีคอสมิก)
รังสีที่ก่อให้เกิดไอออนดังกล่าวจะเกิดขึ้นและอยู่ล้อมรอบมนุษย์ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะมีมากบ้างหรือน้อยบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับสถานที่ และลักษณะ การปฏิบัติงานต่างๆกัน

ผลของรังสีต่อสิ่งมีชีวิต

เนื่องจากรังสีเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกระทบวัสดุต่างๆ และสิ่งที่มีชีวิต ก็ย่อมเกิดผลกระทบขึ้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง ได้แก่ ชนิดของ รังสี พลังงานของรังสี ปริมาณของรังสี และชนิดของอวัยวะที่รังสีตกกระทบ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น